วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563

น้องน้ำ

 ทางด่วนผันน้ำ

"น้ำ ท่วมในปีนี้ที่เกิดผลกระทบอย่างมหาศาล การแก้ปัญหาการระบายน้ำโดยใช้เส้นทาง ฟลัดเวย์ แบบเดิมที่มีอยู่ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจะเป็น เพราะมีชุมชน ถนน ขวางทางน้ำทั้งหมด โอกาสที่จะไปรื้อตัวที่ขวางน้ำทำได้ยาก ซึ่งในอนาคตจะทำอย่างไรต่อไปถ้าเกิดน้ำท่วมแบบปัจจุบันอีก ก็อยากจะเสนอการใช้คลองพิเศษ หรือเส้นทางด่วนพิเศษ ใช้คลองที่มีอยู่เดิม คือจากเขื่อนเจ้าพระยาใช้คลองชัยนาท-ป่าสัก ต่อด้วยคลองระพีพัฒน์ใต้ ต่อด้วยคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต


"ในหลักการคือ สร้างถนนมอเตอร์เวย์สายใหม่ แต่ต้องยกขึ้นระดับสูง 3 เมตร สามารถใช้เส้นทางไปทางเหนือ-อีสานได้ใช้เวลาไม่มาก ตรงกลางรระหว่างถนนจะเป็นที่ระบายน้ำท่วม ก็คือแนวคลองเดิมที่มีอยู่ แต่ต้องมีการขุดลอกให้น้ำไหลได้สะดวก น้ำจะไหลได้สะดวกตามธรรมชาติ ไม่ต้องสูบน้ำ ผันน้ำสู้เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ เพราะการสู้กับธรรมชาตินั้นไม่มีทางชนะ" รศ.ดร.ธนวัฒน์เสนอ


ซึ่งหมายความว่า ในการลงทุนระบบโครงสร้างครั้งนี้ ต้องมีการเวนคืนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลอง


"ต้อง ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เรื่องการชดเชยต้องคุ้มค่า และก็มีข้อแม้หากใครเป็นเจ้าของก็ยังมีกรรมสิทธิ์ทำนาต่อได้ ช่วงน้ำมากๆ ทำนาได้สองครั้ง เก็บเกี่ยวเสร็จถึงฤดูน้ำหลากปล่อยน้ำไหลมาตามธรรมชาติ พื้นที่ตรงนี้จะเป็นที่นาที่ใหญ่ที่สุดในอนาคต ถ้าตอนหน้าน้ำขึ้นตัวพื้นที่นี้จะทำหน้าที่สองแบบ คือ 1.เป็นแก้มลิงเก็บกักน้ำ และ 2.เป็นเส้นทางระบายน้ำจากชัยนาทไปถึงคลองด่าน จ.สมุทรปราการได้ รวมระยะทาง 200 กิโลเมตร สามารถจุน้ำได้ 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร


"นอกจากนั้นตัวคลองพิเศษนี้จะสามารถระบายน้ำด้วย ตัวมันเองได้ ไหลไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องมีการเร่งสูบ สามารถระบายได้ 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เท่ากับวันละ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร ไปลงทะเลที่คลองด่าน"


รศ.ดร.ธนวัฒน์ บอกถึงซุปเปอร์ เอ็กซ์เพลส ฟลัดเวย์ ว่าเป็นทั้งทางด่วนน้ำและทางด่วนของรถยนต์ ของคนที่ใช้ถนน สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืนถาวรที่สุด


นอกจากมี "ทางด่วนผันน้ำ" แล้ว นักวิชาการจากรั้วจามจุรี เสนอว่า ควรมีการจัดระบบในการทำกั้นน้ำแบบเชื่อมโยงกันในทุกจังหวัดที่อาจได้รับผล กระทบจากน้ำท่วม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ เพราะถ้าต่างคนต่างทำอย่างที่เป็นอยู่นั้น น้ำที่ไหลนอกคันกั้นของแต่ละเมืองจะไหลแรงมาก อาจทำให้น้ำไม่อยู่ในระบบที่จะได้ได้ตามธรรมชาติ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้


"เรา ต้องเริ่มคิดใหม่ทั้งหมด ต้องมีการขุดลอกคูคลองที่ระบบที่เป็นเส้นทางระบายน้ำ ทั้ง กทม.และจังหวัดที่อยู่ในเส้นทางน้ำ ปรับปรุงระบบเตือนภัย การปล่อยน้ำจากเขื่อนต้องประสานกันเป็นระบบเพื่อการเตือนภัยให้ประชาชนได้ ทราบข่าวน้ำก่อนล่วงหน้า ต้องมีแผนแม่บทระยะเวลาเพาะปลูกในลุ่มน้ำท่วม ปลูกให้เป็นเวลาเดียวกัน เก็บเกี่ยวเวลาเดียวกัน มีการจ่ายเงินชดเชยพื้นที่


ไม่มีความคิดเห็น:

ข่าวประจำวัน

โครงการผ่าตัดตาต้อกระจก แก่ชาวเนปาล ณ วัดไทยลุมพินี เนปาล ถวายเป็นพระราชกุศลในหลวงรัชกาลที่ ๙ และในหลวงรัชกาลที่ ๑๐

โครงการผ่าตัดตาต้อกระจก   แก่ชาวเนปาล   ณ   วัดไทยลุมพินี   เนปาล ถวายเป็นพระราชกุศลในหลวงรัชกาลที่   ๙   และในหลวงรัชกาลที่   ๑๐ เริ่มแล้วว...